Breast implants and Lymphoma

เต้านมเทียมกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง BREAST-IMPLANT ASSOCIATED ANAPLASTIC LARGE CELL LYMPHOMA (BIA-ALCL)

บทความโดย โรงพยาบาลนมะรักษ์และ Mentor

 

อะไร คือ BIA-ALCL?

BREAST-IMPLANT ASSOCIATED ANAPLASTIC LARGE CELL LYMPHOMA (BIA-ALCL)

       คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดหายาก ที่มักพบในผู้ป่วยหญิงที่ใส่เต้านมเทียม โดยจะมาด้วยอาการเต้านมบวมจากการที่มีสารเหลวมารวมอยู่รอบๆ ตัววัสดุเต้านมเทียม โดยอาการบวมนี้มักพบในช่วงหลังจากใส่ตัวเต้านมเทียมไปได้แล้วอย่างน้อย 1 ปี อาการที่มักพบต่อมาในภายหลัง ได้แก่ อาการเจ็บเต้านมแข็งตัวเป็นก้อนๆ บวมมากขึ้น เต้านมไม่เท่ากัน การรักษาโรคนี้ จะทำโดยการนำตัวเต้านมเทียมออกและเนื้อเยื่อรอบๆ วัสดุเต้านมเทียมออก โดยมีการพยากรณ์โรคที่ดีหากได้ รับการวินิจฉัยเร็ว ปัจจัยอื่นที่คาดว่าน่าจะเพิ่มความเสี่ยงคือเรื่องการติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นต้องลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาฆ่าเชื้อ การป้องกันเลือดออก การใส่ท่อระบายเลือดที่คั่งเป็นต้น ถ้าสังเกตว่าเต้านมอีกข้างเริ่มโตกว่าอีกข้างหนึ่ง ให้รีบทำการเจาะน้ำที่อยู่รอบๆ ถุงไปส่งตรวจ cluster of differentiation (CD) และ Anaplastic Lymphoma Kinase (ALK) โดยเกือบทั้งหมดจะมี CD30 + การรักษาเพียงแค่การผ่าตัดนำซิลิโคนออก และเลาะแคปซูลออก อาจร่วมกับการให้ยาเคมีในบางราย

 

BIA-ALCL พบได้บ่อยแค่ไหน?

       BIA-ALCL เป็นโรคที่พบได้น้อย ในช่วงมีนาคม 2017 ทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รายงานการพบ

ถุงเต้านมเทียมจำนวนทั้งหมด 660 ชิ้น [1] ที่มีการรายงานพบโรคBIA-ALCL จากจำนวนหญิงที่ทำการใส่เต้านมเทียม 5-10 ล้านคนทั่วโลก ทาง FDA มีการรายงานว่า BIA-ALCL พบบ่อยในเต้านมเทียมแบบผิวทราย (texture surface) มากกว่าแบบผิวเรียบ (smooth surface)

การเลือกชนิดเต้านมเทียม (Choice of Implants)

       ข้อดีและข้อเสียของเต้านมเทียมแบบผิวทราย?  เต้านมเทียมแบบผิวทรายนั้น มีข้อดีมากกว่าเต้านมเทียมแบบผิวเรียบ ตัววัสดุเต้านม เทียมใหม่ๆ มักออกแบบมาในรูปแบบผิวทราย เพื่อที่ให้ตัวเต้านมเทียมนั้นมีการเคลื่อนน้อยลง เต้านมเทียมแบบผิวทรายสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ(ที่พบบ่อยกว่า BIA-ALCL) น้อยกว่าเต้านมเทียมผิวเรียบ เช่น ภาวะพังผืดรัดเต้านเทียม โดยการเลือกประเภทเต้านมเทียมนั้น จะเป็นการตัดสินใจร่วมกันถึงข้อดีข้อเสียระหว่างคนไข้และแพทย์เต้านมเทียม Mentor ปลอดภัยไหม? Mentor นั้น ได้ผ่านการศึกษาทดลองความปลอดภัยแลประสิทธิผลทั้งในการผ่าตัดศัลยกรรมเสริมความงาม และผ่าตัดซ่อมแซมรักษาโรคในคนไข้มานานนับ 10 ปี โดยมีการศึกษาที่รองรับว่า Mentor นั้น มีความปลอดภัยและประสิทธิผลดี

 

เราจะหาข้อมูลเกี่ยวกับ BIA-ALCL ได้ที่ไหน?  

       องค์การ U.S. Food and Drug Administration (FDA), French: National Security Agency of Medicines and Health Products (ANSM), Therapeutic Goods Administration (TGA), and Medicines & Healthcare products Regulatory Agency (MHRA) The American Society of Plastic Surgeons (ASPS), the American Society for Aesthetic Plastic Surgery (ASAPS), The Plastic Surgery Foundation (PSF) and the International Society of Aesthetic and Plastic Surgery (ISAPS) ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง ประโยชน์ และโทษ เกี่ยวกับการผ่าตัดเสริมเต้านม และข้อมูลเกี่ยวกับโรค BIA-ALCL แก่ประชาชนทั่วไปตลอด

      

เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรหากได้รับการผ่าตัดใส่เต้านมเทียมไปแล้ว?

       องค์การ FDA ไม่ได้แนะนำให้ทำการผ่าตัดนำเต้านมเทียมออก หรือให้เปลี่ยนแปลงการตรวจรักษาติดตามกับทางแพทย์แผนปัจจุบันที่ท่านได้รับอยู่เดิม ทางหน่วยงานสุขภาพได้ให้ข้อมูลว่าBIA-ALCL นั้นเป็นโรคที่พบได้ยากมาก เราพบการเกิดโรคนี้ในจำนวนน้อย จากผู้หญิงนับล้านคนที่ทำการเสริมเต้านมเทียมองค์การ FDA กล่าวว่า อาการของ BIA-ALCL มักแสดงอาการอย่างช้าๆ มักพบได้ หลังใส่ตัวเต้านมเทียมตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปโดยอาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ อาการปวด เต้านมแข็งเป็นก้อนๆ อาการบวม หรือลักษณะเต้านมไม่เท่ากัน หากท่านมีอาการเหล่านี้ทางเราแนะนำให้ท่านทำการปรึกษา และตรวจเช็คร่างกายกับแพทย์นอกจากโรค BIA-ALCL ทางองค์การ FDA ได้แนะนำให้ปฏิบัติตัวดังนี้

  • สังเกตและตรวจเต้านมของตนเอง หากพบความผิดปกติทางเราแนะนำให้ท่านไปตรวจเพิ่มเติมกับทางบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ชำนาญการเกี่ยวกับการตรวจเต้านม ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medlineplus.gov/ency/article/001993.htm.
  • เข้ารับการตรวจ mammogram และ ultrasound ตามคำแนะนำของแพทย์
Remark:: There's no guarantee for fixed result and outcome was uncertainty depend on individual

Gallery