การรักษามะเร็งเต้านม โดยการผ่าตัดสงวนเต้าพร้อมฉายแสงในคราวเดียว

บทความโดย รศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน

          การรักษามะเร็งเต้านมระยะต้นมีความก้าวหน้า สามารถทำการผ่าตัดแบบสงวนเต้าหรือเก็บเต้านมได้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้า ทั้งนี้หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยต้องทำการฉายรังสีเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำ ใช้เวลาฉายรังสีประมาณ 4-6 สัปดาห์ โดยใน 1 สัปดาห์จะฉายรังสี 5 วัน โดยฉายรังสีบริเวณเต้านมทั้งเต้าประมาณ 2-4 สัปดาห์และฉายรังสีเน้นบริเวณที่ตัดก้อนมะเร็งอีก 1-2 สัปดาห์ ข้อเสียของการฉายรังสีภายนอกคือ ผู้ป่วยจะเสียเวลาต้องมาโรงพยาบาลทุกวัน อาจมีผลแทรกซ้อนจากการฉายรังสีที่อวัยวะข้างเคียงเช่นการเกิดพังผืดที่ปอดหรือหัวใจ จากการวิจัยพบว่าการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งส่วนใหญ่มักเกิดที่ตำแหน่งที่ผ่าตัด จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี การฉายรังสีในระหว่างการผ่าตัด (Intraoperative Irradiation/IORT) เพื่อให้คนไข้สะดวกมากขึ้น ลดการเกิดผลแทรกซ้อนกับอวัยวะข้างเคียง และใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง 

          การฉายรังสีในห้องผ่าตัดนี้จะตรงและแม่นยำไปที่จุดมะเร็ง หลังจากแพทย์ผ่าตัดเอาตัวมะเร็งออกแล้ว จะนำเครื่องฉายรังสีมาทำการฉายรังสีในห้องผ่าตัดทันที  เทคโนโลยีการฉายรังสีในห้องผ่าตัดสามารถนำมาทดแทนการฉายรังสีภายนอกแบบเดิมโดยไม่ต้องเสียเวลามาฉายรังสีภายนอกอีก หากผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 45-50 ปีขึ้นไป ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 3 ซม. และเป็นมะเร็งชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมน 

          ส่วนผู้ป่วยอื่นๆ เช่น อายุน้อย หรือเป็นมะเร็งชนิดที่ไม่มีตัวรับฮอร์โมน การฉายรังสีในห้องผ่าตัดจะนำไปทดแทนการฉายรังสีบริเวณเน้นที่ตำแหน่งก้อนมะเร็ง หลังจากนั้นผู้ป่วยยังต้องทำการฉายรังสีบริเวณเต้านมส่วนอื่นเพิ่มเติมอีก 2-4 สัปดาห์ การฉายรังสีด้วยเทคนิคการฉายในห้องผ่าตัดควบคู่การฉายภายนอก ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการฉายรังสี ลดผลแทรกซ้อนของอวัยวะใกล้เคียง และลดเวลาการฉายรังสีภายนอก

          เครื่องฉายแสงในห้องผ่าตัดมีให้บริการที่โรงพยาบาลนมะรักษ์ เป็น 1 ใน 4 ของโรงพยาบาลในประเทศไทยที่มีเครื่องฉายรังสีในห้องผ่าตัด และเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งเดียวที่มี การฉายรังสีในระหว่างการผ่าตัด (Intraoperative Irradiation/IORT)

          เพราะเราเป็นโรงพยาบาลที่รักษาเฉพาะโรคเต้านม มีเทคโนโลยีและทีมแพทย์ ไม่ด้อยกว่าโรงเรียนแพทย์ ให้บริการรักษาดุจคนในครอบครัว

 

หมายเหตุ:: ไม่มีการรับประกันผลลัพธ์ที่ตายตัวและผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

วีดีโอ

แกลเลอรี่