โรงพยาบาลนมะรักษ์ มุ่งมั่นดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER2-Positive ด้วยมาตรฐานสากล ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
มะเร็งเต้านม HER2-Positive คืออะไร?
มะเร็งเต้านม HER2-Positive คือชนิดของมะเร็งเต้านมที่มีการแสดงออกของโปรตีน HER2 มากเกินไป ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
การรักษามุ่งเป้า (Targeted Therapy): ความหวังใของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม HER2-Positive
การรักษามุ่งเป้าเป็นนวัตกรรมการรักษามะเร็งที่มุ่งทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง โดยมุ่งเป้าไปที่โปรตีน HER2 เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ
ยาที่ใช้ในการรักษามุ่งเป้า HER2-Positive มีอะไรบ้าง?
ยากลุ่มแอนติบอดีโมโนโคลนอล (Monoclonal Antibodies)
· Trastuzumab (Herceptin): ยาตัวแรกที่ได้รับการอนุมัติในปี 1998 ออกฤทธิ์โดยจับกับโปรตีน HER2 บนผิวเซลล์มะเร็งเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต
· Pertuzumab: ใช้ร่วมกับ Trastuzumab เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้ง HER2 มักใช้ร่วมกันในระยะเริ่มต้นและระยะแพร่กระจาย
Tyrosine Kinase Inhibitors (TKIs): ยาที่ออกฤทธิ์ภายในเซลล์เพื่อยับยั้งการทำงานของ HER2 เช่น
Lapatinib: ใช้ในระยะแพร่กระจาย
Neratinib และ Tucatinib: ใช้ได้ทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะแพร่กระจาย
Antibody-Drug Conjugates (ADCs): ยาที่รวมเอาความแม่นยำของยาพุ่งเป้าเข้ากับยาเคมีบำบัด เพื่อนำส่งยาเคมีบำบัดไปยังเซลล์มะเร็งโดยตรง เช่น
T-DM1 (Trastuzumab emtansine): ใช้ในระยะแพร่กระจาย และในผู้ป่วยที่ยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลือหลังการรักษาก่อนผ่าตัด
T-DXd (Trastuzumab deruxtecan): เป็นยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง
แนวทางการรักษาที่โรงพยาบาลนมะรักษ์ (อ้างอิงตามมาตรฐานสากล):
1. การรักษาก่อนผ่าตัด (Neoadjuvant Therapy): ใช้ในผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ (≥ 2 ซม.) หรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ช่วยให้ก้อนมะเร็งเล็กลง เพิ่มโอกาสในการผ่าตัดสงวนเต้านม
2. การรักษาเสริมหลังผ่าตัด (Adjuvant Therapy):
· การลดขั้นตอนการรักษา (De-escalation): สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ก้อนมะเร็งขนาดเล็กในระยะเริ่มต้น อาจใช้เพียง Paclitaxel ร่วมกับ Trastuzumab ช่วยลดผลข้างเคียง
· การรักษาแบบเพิ่มระดับ (Escalation): สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ หรือมีการแพร่กระจายต่อมน้ำเหลือง อาจใช้ Trastuzumab ร่วมกับ Pertuzumab
3. การจัดการมะเร็งที่ยังคงเหลือหลังการผ่าตัด (Residual Disease Management): ผู้ป่วยที่ยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลือหลังการรักษาก่อนผ่าตัด จะได้รับการรักษาด้วย T-DM1 เพื่อลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ
การติดตามผลและการดูแลแบบองค์รวม:
โรงพยาบาลนมะรักษ์ให้ความสำคัญกับการติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการตรวจภาพทางรังสีวิทยา การตรวจเลือดเพื่อเฝ้าระวังการกลับมาของโรค (ctDNA) ในรายที่มีข้อบ่งชี้ และ การฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
ทำไมต้องเลือกโรงพยาบาลนมะรักษ์?
การรักษาที่อ้างอิงจากมาตรฐานระดับโลก: ใช้แนวทางจาก NCCN และ ASCO นำผลวิจัยล่าสุด เช่น APHINITY, KATHERINE และ PHERGain มาใช้ในการรักษา
เทคโนโลยีที่ทันสมัย: การวิเคราะห์ระดับโมเลกุลและการใช้ AI ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา
ทีมแพทย์เฉพาะทาง: ทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
Comentários