บริการตรวจวินิจฉัยด้วยการเจาะชิ้นเนื้อ

รายละเอียด

การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมขั้นตอนที่สำคัญคือการนำชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา ในอดีตเมื่อตรวจพบความผิดปกติที่เต้านมแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการผ่าตัดเพื่อนำชิ้นเนื้อนั้นออกมาตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หากผลออกมาว่าเป็นมะเร็งเต้านม จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้งเพื่อรักษามะเร็งเต้านม

ปัจจุบันมีเทคนิคการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจด้วยการใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการถ่ายภาพทางรังสีหรืออัลตราซาวน์ขณะทำการตัดชิ้นเนื้อโดยการฉีดยาชา มีแผลขนาดเล็กเจ็บตัวน้อย ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล

ในกรณีที่คลำได้ก้อน หรือมีผลแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์เป็น BIRADs4-5     หลังจากที่แพทย์ตรวจยืนยันแล้วจะทำการแนะนำให้เจาะตรวจชิ้นเนื้อด้วยเทคนิคที่เหมาะสม ได้แก่

1.    เจาะด้วยเข็มขนาดเล็กดูดเซลล์มาตรวจ(FNA: Fine needle aspiration) วิธีนี้เหมาะสำหรับการเจาะตรวจต่อมน้ำเหลือง หรือเจาะตรวจถุงน้ำที่เต้านม

2.    เจาะตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดใหญ่(Core needle biopsy) วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ประมาณ 99%  แบ่งเป็น

2.1.   Ultrasound Guide core Biopsyแพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อออกมาเป็นแท่งเล็กควบคู่ไปกับการทำอัลตราซาวน์ เพื่อให้มั่นใจว่าได้เนื้อออกมาถูกตำแหน่งจริงๆ

2.2.  Stereotactic Vacuum Core Biopsy ในกรณีที่เป็นหินปูนหรือก้อนที่มองไม่เห็นในอัลตราซาวน์ แต่เห็นในแมมโมแกรม แพทย์จะใช้เครื่องตัดชิ้นเนื้อพิเศษแบบเจาะดูดกลับอัตโนมัติ โดยใช้เครื่องกำหนดพิกัดติดตั้งควบคู่กับเครื่องแมมโมแกรม เพื่อให้การตั้งพิกัดมีความแม่นยำ แล้วเข็มจะทำการตัดชิ้นเนื้อและลำเลียงออกมาด้วยเครื่องดูดอัตโนมัติ

ในบางรายหลังจากเจาะตัดชิ้นเนื้อแล้ว แพทย์จะวาง Titanium marker ไว้เพื่อบอกตำแหน่งที่มีความผิดปกติ สำหรับการติดตามหรือการรักษาในอนาคต

ในบางกรณีที่ไม่สามารถเจาะชิ้นเนื้อได้เช่นในตำแหน่งที่อันตราย แพทย์อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกมาพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หากผลชิ้นเนื้อออกมาว่าเป็นมะเร็งจำเป็นต้องมาทำการผ่าตัดแบบมะเร็งต่อไป

การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ไม่ควรล่าช้า เพราะเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนที่จะเริ่มการรักษามะเร็งเต้านม ที่โรงพยาบาลนมะรักษ์ สามารถทำการตรวจชิ้นเนื้อได้ภายในวันเดียวกันและทราบผลได้ภายใน 1-3 วัน

ค่าบริการ

o   เจาะด้วยเข็มขนาดเล็กดูดเซลล์มาตรวจร่วมกับอัลตราซาวน์(Ultrasound Guide FNA:Fine needle aspiration)

·         ค่าบริการรวมค่าชิ้นเนื้อประมาณ 10,500-12,500 บาท ต่อจุด

o   เจาะตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดใหญ่ร่วมกับอัลตราซาวน์(Ultrasound Guide core Biopsy)

·         ค่าบริการรวมค่าชิ้นเนื้อประมาณ 26,500-28,500 บาท ต่อจุด

o   เจาะตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดใหญ่ร่วมกับแมมโมแกรม(Stereotactic Vacuum Core Biopsy)

·         ค่าบริการรวมค่าชิ้นเนื้อประมาณ 50,000-53,000 บาท ต่อจุด

หมายเหตุกรณีที่มีการใส่ Titanium marker เพิ่มค่าบริการอีก 5,000 บาท

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ

1.    กรณีเป็นผู้รับบริการที่มาตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลนมะรักษ์ สามารถเจาะตรวจชิ้นเนื้อได้เลยในวันเดียวกันหรือในวันที่ผู้รับบริการสะดวก หลังจากที่ศัลยแพทย์ได้ทำการตรวจและแนะนำแนวทางการดูแลรักษาแล้ว

2.    สำหรับผู้ที่นำผลการตรวจมาจากภายนอก ให้นัดพบศัลยแพทย์ เพื่อทำการตรวจและดูผลฟิล์มยืนยันความจำเป็น ก่อนทำการนัดเจาะตรวจชิ้นเนื้อ

3.    ก่อนทำการตรวจชิ้นเนื้อทางโรงพยาบาลเจาะทำการประเมินความเสี่ยงเรื่องเลือดออกผิดปกติ ด้วยการตอบแบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยง การตรวจทางห้องปฏิบัติการดูค่าเม็ดเลือดและการแข็งตัวของเลือดว่าผิดปกติหรือไม่

4.   ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด วิตามินอี น้ำมันปลา(FISH oil) แนะนำให้หยุดรับประทานก่อนการเจาะตรวจชิ้นเนื้ออย่างน้อย 7 วัน

5.   หลังจากเจาะตรวจชิ้นเนื้อแล้วทางโรงพยาบาลจะมีการโทรติดตามอาการหลังเจาะตรวจชิ้นเนื้อโดยพยาบาลในวันรุ่งขึ้น และนัดพบแพทย์เพื่อดูแผลและผลชิ้นเนื้อหลังจากเจาะตรวจชิ้นเนื้อประมาณ 3-5 วันหลังจากเจาะชิ้นเนื้อ

ระยะเวลา(Cycle time)

เวลาการตรวจทางห้องปฏิบัติการดูค่าเม็ดเลือดและการแข็งตัวของเลือด ประมาณ 1 ชั่วโมง

เจาะตรวจชิ้นเนื้อ ประมาณ 1 ชั่วโมง

รายงานผลชิ้นเนื้อจะได้รับ ประมาณ 3 วันทำการ

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนมาโรงพยาบาล

-          ประวัติการรักษาพยาบาลเดิม(หากมี)

-          ผลการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ ทั้งผลการรายงานและภาพที่บันทึกในรูปแบบซีดีภาพทางการแพทย์(ระบบPACs)

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ต้องนัดพบก่อนทำการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ

1.    รศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน

2.    พญ.ปวีณา เลือดไทย

3.    พญ.เสริมศรี พงษ์รัตนกุล

4.   ผศ.นพ.ธงชัย ศุกรโยธิน

5.   นพ.มนต์ชัย ลีสมบัติไพบูลย์

6.   พญ.ชญานุตม์ รัตตดิลก

7.    นพ.มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

8.    นพ.ฐิติกร ไกรสรกุล

9.   นพ.กัมปนาท นิ่มพูนศรี

10. นพ.ภัทรเชษฐ์ คล้ายเคลื่อน

หมายเหตุ:: ไม่มีการรับประกันผลลัพธ์ที่ตายตัวและผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล